วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบงานครั้งที่ 5
  วันที่  12/07/56
  เวลา  08.30  -  11.00

เรียนเรื่อง


ของที่ชอบ  โดราเอมอน
  เพราะเป็นตุ๊กกระตาที่ชอบ ตอนเด็กๆ พ่อจะชอบซื้ออะไรที่เกี่ยวกับโดราเอมอนให้หมด  ทุกวันนี้ก็ยังใช่อยู่แต่อาจจะน้อยลงเพราะโตแล้ว แต่ก็ยังรักยังชอบโดราเอมอนเหมือนเดิม


ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

เสียง

นัก ภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ

พยางค์และคำ

พยางค์ เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้

พยางค์ แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น

“ ปา”พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/

เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/

เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/

ส่วน คำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

ประโยค

ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือ ระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ

ความหมาย

ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ

(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น

กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ

(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น

“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ

“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น